การคำนวณค่าไฟฟ้า

การคำนวณค่าไฟฟ้า

calculate

 

การที่เราจะคำนวณค่าไฟฟ้านั้น เราจำเป็นจะต้องรู้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าและอัตราค่าบริการไฟฟ้าเสียก่อน โดยปริมาณการใช้ไฟฟ้าสามารถหาได้จากการนำกำลังไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดมาคูณกับเวลาการเปิดใช้งาน กำลังไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น มีหน่วยเป็นวัตต์ (Watt) สามารถหาได้จากคู่มือการใช้งานหรือสเปคชีท ส่วนเวลาการใช้งานในกรณีของเครื่องทำความเย็นจะต้องนำไปคูณค่าแฟคเตอร์ด้วย เนื่องจากการทำงานของคอมเพรสเซอร์นั้น ไม่ได้ทำงานเต็มอัตราอยู่ตลอดเวลา ส่วนอัตราค่าไฟฟ้านั้นจะขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้งานของคุณ โดยจะคิดเป็นหน่วย หนึ่งหน่วยมีค่าเท่ากับ 1,000 วัตต์ หรือ 1 กิโลวัตต์

ตัวอย่าง ร้านของคุณมีเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 3 อย่าง

  1. หลอดไฟฟ้าขนาด 40 วัตต์ รวมบัลลาสต์อีก 10 วัตต์ เป็น 50 วัตต์ จำนวน 10 ดวง เปิดใช้ประมาณวันละ 6 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ [(50 x 10) / 1,000] x 6 = 3kW หรือ 3 หน่วย
  2. ตู้เย็นขนาด 125 วัตต์ 1 ตู้ เปิดตลอด 24 ชั่วโมง ประมาณว่าคอมเพรสเซอร์ทำงานวันละ 12 ชั่วโมง หรือครึ่งหนึ่ง จะใช้ไฟฟ้าวันละ [(125 x 1) / 1,000] x (24 x 0.5) = 1.5 หน่วย
  3. เครื่องปรับอากาศขนาด 2,000 วัตต์ 1 เครื่อง เปิดวันละ 12 ชั่วโมง ประมาณว่าคอมเพรสเซอร์ทำงานวันละ 8 ชั่วโมง หรือ 2/3 จะใช้ไฟฟ้าวันละ [(2,000 x 1) / 1,000] x 8 = 16 หน่วย

ดังนั้นร้านของคุณจะใช้ไฟฟ้าวันละ 20.5 หน่วย หรือ 20.5 x 30 = 615 หน่วยต่อเดือน

กรณีที่คุณเป็นกิจการขนาดเล็กและจ่ายค่าไฟฟ้าในอัตราปกติ

electricity-rates

คุณจะสามารถคำนวณค่าไฟฟ้าได้ดังต่อไปนี้

electricity-bill-calculation

นอกจากนี้ยังมีค่าการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ หรือที่เรียกว่าค่า Ft ซึ่งสามารถเช็คได้จากใบแจ้งหนี้หรือใบเสร็จรับเงิน โดยค่า Ft สามารถเป็นได้ทั้งบวกและลบ ยกตัวอย่างเช่น ค่า Ft เดือนกันยายน – ธันวาคม 2559 อยู่ที่หน่วยละ -33.29 สตางค์ แต่ของเดือนกันยายน – ตุลาคม 2558 อยู่ที่หน่วยละ 46.38 สตางค์

electricity-bill-calculation-2

ข้อมูลเพิ่มเติม:

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *